Page 47 - kpiebook65020
P. 47
8
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมก็ไม่ได้ปฏิเสธความจ าเป็นในการออกกฎ ในตัวอย่างข้อตกลง
แลกเปลี่ยนระหว่าง A กับ B จะเห็นได้ว่า หากไม่มีกฎหมายสัญญาที่ระบุว่าสัญญาต้องเป็นสัญญา ตกลงไปแล้ว
จะต้องท าตาม การแลกเปลี่ยนระหว่าง A กับ B อาจจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยตั้งแต่แรก ดังนั้น
นักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมจึงเชื่อว่าสังคมจ าเป็นจะต้องมีกฎและกฎหมายพื้นฐานเพื่อช่วยให้กลไกตลาดสามารถ
ท าหน้าที่ขับเคลื่อนสังคมได้ นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมยังเชื่อว่า ในบางสถานการณ์กลไกของตลาดก็
ไม่สามารถท าหน้าที่ใจการจัดสรรความต้องการของคนในสังคมให้สอดคล้องกันได้ ความล้มเหลวของตลาด
(Market Failure) ส่งผลให้สาธารณประโยชน์ในสังคมลดลงและท าให้รัฐต้องเข้าแทรกแซงตลาด เช่น ออกกฎ
หรือมาตราการอื่น ๆ เพื่อช่วยเพิ่มสาธารณประโยชน์นั้นเอง ความล้มเหลวของตลาดนั้นเกิดขึ้นได้จากเหตุผล
5
ดังต่อไปนี้
ประการแรก การผูกขาดและการผูกขาดโดยธรรมชาติ (Monopolies and Natural Monopolies)
การแข่งขันอย่างเท่าเทียมจะท าให้กลไกตลาดด าเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ การผูกขาดและมาตรการ
อื่น ๆ ที่ใช้ลดการแข่งขันเป็นสาเหตุที่ท าให้เกิดความล้มเหลวของตลาด ดังนั้น เมื่อมีการผูกขาด รัฐจะต้องเข้า
แทรกแซงเพื่อเพิ่มการแข่งขันและแก้ไขปัญหาตลาดล้มเหลว โดยรัฐอาจจจะใช้วิธีออกกฎหมายแข่งขันทางการ
ค้าเพื่อเข้าควบคุมและก ากับการแข่งขันในตลาดนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม มีตลาดหลายตลาดที่มีลักษณะผูกขาดโดย
ธรรมชาติ ตลาดลักษณะนี้เป็นตลาดที่จ าเป็นต้องการมีลงทุนสูงมากหรือการลงทุนจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อ
สังคมโดยรวมจึงจ าเป็นจะต้องมีการแข่งขันในตลาดน้อยเพื่อจ ากัดการลงทุนในมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น
โครงข่ายขนส่งสาธารณะ ไฟฟ้า แก๊ส หรือระบบสัญญา ส าหรับตลาดที่มีการผูกขาดโดยธรรมชาติ รัฐไม่
สามารถแทรกแซงเพื่อส่งเสริมการแข่งขันได้แต่จะต้องเข้าไปก ากับดูแลการด าเนินงานของผู้เล่นในตลาดที่
มักจะเป็นผู้ขายผูกขาดในตลาด
ประการที่สอง สินค้าสาธารณะ (Public goods) สินค้าสาธารณะเป็นสินค้าที่มีลักษณะสองประการ
ร่วมกัน กล่าวคือ เป็นสินค้าที่เมื่อบริโภคโดยคนหนึ่งคนแล้วไม่หมดสิ้นไป ผู้บริโภคคนอื่นยังสามารถบริโภค
สินค้าเดียวกันได้อีก และ เมื่อสินค้าถูกจัดสรรแล้วผู้บริโภคไม่สามารถเลือกที่จะไม่บริโภคสินค้านั้นได้ เช่น
ระบบป้องกันประเทศ เป็นสินค้าสาธารณะเพราะเมื่อนาย A ได้ใช้ประโยชน์จากระบบป้องกันประเทศแล้วก็
ไม่ได้ท าให้ระบบหมดสิ้นไป นาย B ยังสามารถใช้ประโยชน์จากระบบเดียวกันได้ นอกจากนี้ แม้ว่า นาย C จะ
ไม่อยากได้รับประโยชน์จากระบบ หากนาย C ยังอยู่ในสังคมเดียวกับนาย A และ B ก็ไม่สามารถเลือกจะไม่
รับประโยชน์จากระบบได้ ตัวอย่างอื่น ๆ ของสินค้าสาธารณะ ได้แก่ ไฟถนน ระบบเก็บขยะ เป็นต้น
ลักษณะเฉพาะของสินค้าสาธารณะที่ร่วมกันบริโภคได้และเมื่อจัดสรรแล้วไม่สามารถปฏิเสธการ
บริโภคได้ท าให้ความต้องการสินค้าสาธารณะของผู้บริโภคนั้นไม่ได้มีผลต่อราคาและแรงจูงใจในการผลิตหรือ
ให้บริการ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดสถานการณ์ที่เรียกว่าปัญหาการฉกฉวยโอกาส (Free Riding) จากตัวอย่าง
ข้างต้น แม้ว่านาย C จะไม่จ่ายเงินเพื่อสนับสนุนระบบป้องกันประเทศ นาย C ก็ยังไม่สามารถเลือกจะไม่รับ
ประโยชน์จากระบบได้ ดังนั้นหากปล่อยให้กลไกตลาดด าเนินการโดยไม่มีการแทรกแซง การผลิตหรือให้บริการ
สินค้าสาธารณะจะลดลงเพราะผู้ผลิตขาดแรงจูงใจในการผลิต ดังนั้นแล้วเพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการผลิตสินค้า
สาธารณะ รัฐอาจเข้าแทรกแซงโดยการจ่ายเงินสนับสนุน (subsidy) ให้ผู้ผลิต นอกจากนี้เนื่องจากสินค้า
5 Anthony Ogus, Regulation: Legal Form and Economic Theory, (Oxford : Clarendon Press, 1996), pp.29.