Page 48 - kpiebook65020
P. 48
9
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
สาธารณะเป็นสินค้าที่มีการบริโภคร่วมกันในคนหมู่มาก สินค้าสาธารณะอาจเป็นเหตุผลให้รัฐเข้าไปแทรกแซง
เพื่อดูแลคุณภาพของสินค้าสาธารณะในสังคมได้อีกด้วย
ประการที่สาม การเกิดผลกระทบภายนอก (Externalities) เกิดขึ้นเมื่อผู้ผลิตได้สร้างต้นทุนให้กับ
บุคคลที่สามต้องแบกรับ และต้นทุนนั้นไม่ถูกรวมอยู่ในต้นทุนการผลิตของผู้ผลิต ดังนั้นต้นทุนของผู้ผลิตจึงไม่
สอดคล้องกับต้นทุนแท้จริงที่สังคมต้องแบกรับ ก่อให้เกิดภาวะตลาดล้มเหลว กล่าวอีกอย่างคือเป็นผลกระทบที่
เกิดขึ้นกับบุคคลที่สาม (Third Parties) จากการท าธุรกรรม การซื้อขาย การแลกเปลี่ยน การด าเนินงาน ของ
6
บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ดังนั้นราคาของตลาดจึงไม่ได้สะท้อนถึงผลกระทบภายนอกแม้แต่น้อย ผลกระทบ
ภายนอกแบ่งเป็นผลกระทบภายนอกเชิงบวก (Positive Externalities) และ ผลกระทบภายนอกเชิงลบ
(Negative Externalities) โดยผลกระภายนอกเชิงบวก คือ ประโยชน์ หรือ สิ่งที่ดีใดใดก็ตามที่ เกิดจาก
กิจกรรมทางเศรษฐศาสตร์เพิ่มเติมนอกเหนือจากประโยชน์ทางตรงที่เกิดขึ้น ประโยชน์นี้จะตกอยู่กับ บุคคลที่
7
สามซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย เช่น การให้การศึกษาขั้นพื้นฐานฟรี แม้ตัวนักเรียนจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยตรง
แต่การมีสังคมมีบุคคลกรที่มีการศึกษาก็จะส่งผลดีต่อสังคมโดยรวม ซึ่งในที่นี้คือบุคคลที่สามที่ไม่เกี่ยวข้องจาก
การได้รับการศึกษาฟรี ส่วนผลกระทบภายนอกเชิงลบ คือ ต้นทุนเพิ่มเติม ทีเกิดต่อบุคคลที่สามจากกิจกรรม
8
ทางเศรษฐกิจ ผลกระทบทางอ้อมนั้นได้ท าให้เกิดเป็นต้นทุนส่วนเพิ่มขึ้นมา เช่น ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ภาวะตลาดล้มเหลวจากปัญหาผลกระทบภายนอกเชิงลบในบางกรณีนี้นั้นสามารถแก้ไขได้ผ่าน
กฎหมายเอกชน เช่น การท าสัญญาหรือการฟ้องร้องละเมิด แต่ในหลายกรณีปัญหาจากผลกระทบภายนอก
อาจเป็นปัญหาที่มีผลร้ายรุนแรง เช่น การปล่อยให้โรงงานปล่อยสารพิษท าลายระบบนิเวศน์ในอนาคต
เมื่อผลร้ายที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในอนาคต กฎหมายเอกชนที่ไม่มีผลเข้าไปจัดการสิทธิของบุคคลใน
อนาคตจึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาจากผลกระทบภายนอกได้ ดังนั้นรัฐจึงจ าเป็นจะต้องเข้าไปแทรกแซงแทนที่
จะปล่อยให้เอกชนจัดการ
ในการแก้ปัญหาที่เกิดจากผลกระทบภายนอก รัฐอาจเข้าไปแทรกแซงด้วยการชดใช้ค่าเสียหายให้
ผู้เสียหายหรือใช้มาตรการอื่นเพื่อลดผลร้ายของปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหาจาก
9
ผลกระทบภายนอกไม่ควรเป็นการแก้ไขหลังผลร้ายเกิดขึ้นแล้วนั้นมีข้อควรระวังที่ต้องศึกษาหลายประการ
(1) เหตุและผลระหว่างการกระท าของผู้ผลิตกับผลกระทบภายนอกในความเป็นจริงนั้นอาจไม่ชัดเจน
เช่น ปัญหาระบบนิเวศน์อาจไม่ได้เกิดจากการกระท าของโรงงานทั้งหมดแต่เป็นผลจากภาวะโลกร้อนโดยตรง
ในกรณีนี้การแทรกแซงของรัฐเพื่อบังคับให้โรงงานต้องรับผิดชอบต่อปัญหาระบบนิเวศน์ทั้งหมดอาจเป็นการ
เพิ่มต้นทุนให้โรงงานต้องแบกรับมากเกินความเป็นจริง
(2) การค านวณถึงต้นทุนที่แท้จริงในการแก้ปัญหาผลกระทบภายนอกนั้นท าได้ยาก เช่น แม้ว่าโรงงาน
จะปล่อยสารพิษท าลายระบบนิเวศน์แต่ในขณะเดียวกันโรงงานอาจจ่ายค่าเช่าที่ดินในราคาสูงกว่าปกติตั้งแต่
แรกเนื่องจากราคาค่าเช่าได้ค านวณถึงการรักษาระบบนิเวศน์รอบโรงงานไว้ตั้งแต่แรกแล้ว ดังนั้น การออก
6 วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์, “ผลกระทบภายนอกเชิงลบ (Externalities) : สิ่งที่ถูกมองข้ามจากสังคม,” จาก http://www2.
fpo.go.th/S-I/Source/ECO/Eco59.pdf.
7
เพิ่งอ้าง.
8
เพิ่งอ้าง.
9 เพิ่งอ้าง, น. 5.