Page 49 - kpiebook65020
P. 49
10
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
มาตรการให้โรงงานชดใช้ค่าเสียหายอาจท าให้โรงงานต้องแบกรับต้นทุนเป็นสองเท่า นอกจากนี้หากรัฐเข้า
แทรกแซงโดยบังคับให้โรงงานเปลี่ยนวิธีการผลิตไปใช้การผลิตโดยไม่มีสารพิษ การออกค าสั่งบังคับในลักษณะ
นี้อาจเพิ่มต้นทุนให้โรงงานสูง แต่ในขณะเดียวกันการเปลี่ยนวิธีการผลิตอาจท าให้โรงงานได้ประโยชน์จาก
ต้นทุนที่ต่ าลงไปในอนาคต หรืออาจท าให้โรงงานขายสินค้าที่ผลิตอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับลูกค้ากลุ่ม
ใหม่ได้เช่นกัน ดังนั้นแล้วการเข้าแทรกแซงเพื่อให้ผู้ผลิตแก้ปัญหาจากผลกระทบภายนอกอาจท าได้ยาก
เนื่องจากการค านวณต้นทุนที่ไม่แน่นอน
(3) ผลร้ายจากผลกระทบภายนอกในบางกรณีอาจไม่มีคงอยู่ถาวรแต่เป็นผลร้ายเพียงชั่วคราว เช่น
ปัญหาจราจรติดขัดจากการสร้างสะพาน ซึ่งอาจเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันและกลไกตลาดอาจสามารถแก้ไขปัญหานี้
ได้เองในระยะยาว
กล่าวโดยสรุป แม้ว่าผลกระทบภายนอกจะเป็นเหตุผลให้รัฐเข้าไปแทรกแซงกลไกตลาด รัฐควร
ระมัดระวังในการด าเนินนโยบายดังที่ข้อสังเกตทั้งสามข้อข้างต้นได้ระบุไว้
ประการที่สี่ ความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล (Information Deficits) กลไกตลาดจะด าเนินการได้ดี
หากผู้ซื้อในตลาดมีข้อมูลในการเลือกซื้อสินค้าอย่างครบถ้วน ดังนั้นแล้วภาวะตลาดล้มเหลวอาจเกิดขึ้นได้เมื่อผู้
ซื้อได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วนเกี่ยวกับสินค้าหรือตัวเลือกอื่น ๆ ที่มีตลาดเพื่อประกอบการตัดสินใจ นอกจากนี้ใน
หลายครั้งผู้ซื้อแม้จะได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนแล้วก็อาจจะไม่ได้ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าจากข้อมูลที่ได้มาอย่าง
สมเหตุสมผล (Bounded Rationality) ดังนั้นความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลและการไม่ใช้เหตุผลอย่างสมเหตุผล
ของผู้ซื้ออาจน าไปสู่ภาวะตลาดล้มเหลวและรัฐอาจจะต้องเข้าแทรกแซงเพื่อแก้ปัญหา
ประการที่ห้า ปัญหาการประสานงาน (Co-ordination Problems) ปัญหาการประสานงาน
เกิดขึ้นเมื่อผู้คนในสังคมไม่สามารถตกลงประสานงานกันในเรื่องบางเรื่อง จ าเป็นจะต้องมีรัฐเข้ามาแทรกแซง
เพื่อแก้ปัญหา เช่น ในการขับรถผู้คนต่างนึกเพียงการขับรถไปให้ถึงจุดหมาย และต่างก็ไม่เห็นความแตกต่าง
ระหว่างการขับรถพวงมาลัยข้างซ้ายหรือข้างขวา อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สามารถขับรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มากที่สุดจ าเป็นจะต้องมีรัฐเข้ามาก าหนดว่าทุกคนควรขับรถข้างใด
(2) การเพิ่มประโยชน์ในทางที่นอกเหนือจากเศรษฐศาสตร์
นอกจากปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะล้มเหลวของกลไกตลาดที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว รัฐ
อาจเข้าแทรกแซงการท างานของตลาดเพื่อประโยชน์อื่น ๆ นอกเหนือจากประโยชน์จากเศรษฐศาสตร์ได้
เช่นเดียวกัน เช่น
(1) เหตุผลเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรและความยุติธรรม
จากที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น แนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์นั่นมุ่งเน้นถึงประสิทธิภาพ
ในการใช้ทรัพยากรเพื่อประโยชน์ส่วนรวมให้ได้มากที่สุด ดังนั้นแล้วการวิเคราะห์หลักการออกกฎหมายใน
แง่มุมเศรษฐศาสตร์จึงมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากรมากกว่าการความยุติธรรมในการจัดสรร
ทรัพยากรเหล่านั้น ดังนั้นแล้วในบางครั้งรัฐอาจเข้าไปแทรกแซงตลาดไม่ใช่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตลาด
แต่เพื่อเพิ่มความยุติธรรมในการจัดสรรปันส่วนทรัพย์ยากรในตลาดนั่นเอง อย่างไรก็ดี ในการแทรกแซงตลาด
แต่ละครั้งรัฐควรวิเคราะห์ให้รอบด้านถึงข้อดีและข้อเสียในการแทรกแซงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพื่อสร้าง
ความยุติธรรมให้เกิดขึ้น