Page 50 - kpiebook65020
P. 50

11

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                                     (2)     เหตุผลเกี่ยวกับการปกป้องและคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชน
               (Paternalism)

                                     เหตุผลเกี่ยวกับการปกป้องและคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชน หรือที่มีชื่อเรียก
               อย่างไม่เป็นทางการว่า “กฎหมายคุณพ่อแสนดี”  เป็นหลักการที่มีลักษณะตรงข้ามกับหลักการทาง

               เศรษฐศาสตร์ที่เน้นให้เสรีภาพกับผู้คนในการด าเนินชีวิตและให้รัฐท าหน้าทีเพียงแก้ไขปัญหาภาวะตลาด
               ล้มเหลวที่จะส่งให้ผู้คนไม่สามารถใช้เสรีภาพในการใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ กฎหมายคุณพ่อแสนดีเป็นกฎหมายที่
               ออกมาบังคับและเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างของคนในสังคม เป็นการแทรกแซงเสรีภาพจากสมมุติฐานที่ว่าใน
               หลายครั้งผู้คนอาจไม่ได้ตัดสินใจอย่างสมหตุสมผล (bounded  rationality)  รัฐจึงต้องแทรกแซงเสรีภาพใน
               การใช้ชีวิตของผู้คนเพื่อให้ชีวิตของผู้คนนั้นดีขึ้น เช่น การออกกฎหมายให้ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องคาดเข็มขัด แม้ว่า

               การตัดสินใจจะคาดเข็มขัดหรือไม่ควรจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของบุคคล รัฐก็เข้าไปแทรกแซงการตัดสินใจนั้น
               ด้วยการออกกฎหมายบังคับให้คาดเข็มขัดเพื่อความปลอดภัยของตัวบุคคลเอง

                                     (3) คุณค่าอื่น ๆ ในสังคม

                                     การเข้าแทรกแซงของรัฐอาจท าได้เพื่อส่งเสริมคุณค่าอื่น ๆ ในสังคม เช่น การ
               ส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม เป็นต้น

                              2.1.1.3 รูปแบบการก ากับดูแลและการออกกฎ

                              หลังจากสรุปได้ว่าระบบกลไกตลาดไม่สามารถท างานได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิด

               ภาวะตลาดล้มเหลว หรือมีเหตุปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้รัฐต้องเข้าไปแทรกแซงหรือก ากับดูแล การออกกฎเข้ามา
               บังคับควบคุมไม่ใช่ทางเลือกเดียวของการแทรกแซงกลไกตลาด แท้จริงแล้วยังมีรูปแบบการก ากับดูแลอีก
               มากมายที่มีและรัฐสามารถเลือกใช้รูปแบบการก ากับดูแลเหล่านี้ได้แทนการออกกฎ โดยข้อได้เปรียบขอการใช้
               รูปแบบการก ากับดูแลทางเลือกเหล่านี้คือความรวดเร็วในการด าเนินการและบังคับใช้ เมื่อเทียบกับการออกกฎ

               ที่ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎใหม่หรือแก้กฎเดิมล้วนต้องผ่านการด าเนินการที่ยุ่งยากและใช้ระยะเวลาด าเนินการ
                   10
               นาน  นอกจากนี้ ด้วยลักษณะการจัดการและบังคับใช้ที่รวดเร็วของรูปแบบทางเลือกเหล่านี้ ยังท าให้
               ทางเลือกเหล่านี้สามารถถูกปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ
               สังคมและเทคโนโลยี รูปแบบทางเลือกเหล่านี้จึงมีความยืดหยุ่นสามารถูกปรับให้รองรับกับความเปลี่ยนแปลง

               หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที

                              ในหัวข้อนี้จะเริ่มต้นศึกษาทางการออกกฎระเบียบค าสั่งและควบคุม (Command-and-
               control)  ซึ่งถือเป็นวิธีการทั่วไปในการแทรกแซงแก้ไขภาวะตลาดล้มเหลวหรือก ากับดูแลตลาดเพื่อปัจจัยอื่น
               นอกจากนี้ยังเป็นการก ากับดูแลที่มีการบังคับมากที่สุด จากนั้นจะศึกษาถึงรูปแบบการก ากับดูแลทางเลือกที่

               นอกเหนือจากการออกกฎระเบียบค าสั่งและควบคุม ซึ่งทางเลือกเหล่านี้มีการบังคับที่น้อยกว่าการออก
               กฎระเบียบค าสั่งและควบคุม ไปจนถึงการตัดสินใจไม่ด าเนินการ (Doing Nothing)




               10
                  “Using alternatives to regulation to achieve policy objectives,” National Audit Office, (2014) accessed 11
               September  2020,  from  https://www.nao.org.uk/wp-content/uploads/2014/06/ Using-alternatives-to-
               regulation-to-achieve-policy-objectives1.pdf, p.17.
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55