Page 51 - kpiebook65020
P. 51

12

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                                     (1) กฎระเบียบค าสั่งและควบคุม (Command-and-control)

                                     กฎระเบียบค าสั่งและควบคุม หมายถึง การออกค าสั่งเพื่อควบคุมหรือห้ามกระท า
               การอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมไปถึงการก าหนดโทษสูงในการฝ่าฝืน เช่น การห้ามกระท าและหากฝ่าฝืนจะมีโทษ
               ทางอาญา การออกกฎหมายควบคุมราคาหรือคุณภาพของสินค้า  อย่างไรก็ตาม กฎระเบียบค าสั่งและการ
                                                                                                  11
               ควบคุมไม่มีขอบเขตความหมายที่ชัดเจน และหลายครั้งมักใช้ในบริบทที่กล่าวถึงการออกกฎที่ไม่ดี   แต่ถึง
               กระนั้นกฎระเบียบค าสั่งและการควบคุมนั้นจะใช้ได้ผลดีในตลาดที่มีการผูกขาดสูงตามธรรมชาติหรือตลาดที่มีผู้
                       12
               เล่นน้อย   เช่น ตลาดโทรคมนาคม เนื่องจากตลาดเหล่านี้ไม่ได้ต้องการการแข่งขันแต่ยังต้องการพัฒนาและ
               การประกันคุณภาพ รัฐจึงควรเข้าแทรกแซงด้วยวิธีการกฎระเบียบค าสั่งและควบคุมเพื่อตรวจสอบการตั้งราคา
               คุณภาพสินค้าและบริการรวมไปถึงการด าเนินการต่าง ๆ ของผู้เล่นในตลาดให้มีความโปร่งใสและไม่เอารัดเอา

               เปรียบผู้รับบริการในตลาด อย่างไรก็ตาม ในการออกกฎระเบียบค าสั่งและควบคุม รัฐควรค านึงถึงความ
               โปร่งใส ตรวจสอบได้ตลาดขั้นตอนการด าเนินการออกและบังคับใช้กฎระเบียบค าสั่งและควบคุม

                                     (2)  กฎข้อบังคับที่ขึ้นอยู่กับผลของการด าเนินงาน (Performance-based
               Regulation)

                                     นอกเหนือจากการออกกฎระเบียบค าสั่งและควบคุมที่เข้มงวดแล้ว รัฐอาจเลือกใช้

               การออกกฎที่มีความรุนแรงในการบังคับน้อยลงมาอย่างการออกกฎข้อบังคับที่ขึ้นอยู่กับผลของการด าเนินงาน
               การออกกฎลักษณะนี้เกิดขึ้นเมื่อรัฐก าหนดผลลัพธ์ที่ต้องการและบังคับให้ผู้อยู่ใต้กฎข้อบังคับต้องท าตาม แต่รัฐ
                                                                 13
               ไม่ได้ก าหนดวิธีการเฉพาะเจาะจงให้ผู้อยู่ใต้กฎต้องท าตาม เช่น แทนที่จะออกกฎห้ามโรงงานปล่อยมลพิษ
               รัฐอาจจก าหนดค่าปริมาณมลพิษที่โรงงานสามารถปล่อยสู่อากาศได้แทน โดยรัฐไม่ได้เข้าไปแทรกแซงถึงวิธีการ

               ที่โรงงานจะเลือกใช้ในลดปริมาณมลพิษ เปิดโอกาสให้โรงงานได้เลือกวิธีที่คุ้มทุนที่สุดในการด าเนินการ ยิ่งไป
                                                                                                        14
               กว่านั้น กฎข้อบังคับที่ขึ้นอยู่กับผลของการด าเนินงานยังสร้างความยืดหยุ่นในการก ากับดูแลของรัฐอีกด้วย
               หลังก าหนดผลการด าเนินงานไปแล้ว รัฐสามารถให้ค าปรึกษากับเอกชนแต่ละรายในแง่การด าเนินการให้
               บรรลุผลลัพธ์ที่ตั้งไว้เป็นรายเดี่ยวได้ โดยรัฐสามารถพิจารณาความแตกต่างและเอกลักษณ์ของเอกชนแต่ละราย

               และให้ค าแนะน าในการด าเนินการที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม

                                     ในการด าเนินการออกกฎข้อบังคับที่ขึ้นอยู่กับผลของการด าเนินงาน รัฐสามารถ
                                15
               ด าเนินการได้สองวิธี  ได้แก่

                                     (1) ด าเนินการผ่านตลาด (Market-based implementation)

                                     การด าเนินการผ่านตลาดมิใช้การไม่ออกกฎบังคับใช้เสียเลย แต่เป็นการออกกฎที่มี
               ความยืดหยุ่นสูง ก าหนดไว้เพียงผลลัพธ์คร่าวๆเพื่อให้อิสระแก่เอกชนในการเลือกวิธีการด าเนินการได้เอง


               11  “Assessing Regulatory Alternatives,” Department of Premier and Cabinet, (2018) accessed 11 September
               2020,     from http://www.dpac.tas.gov.au/data/assets/pdf_file/0015/121137/18_Canadaassessing_reg_
               alternatives_e.PDF.
               12
                  Ibid, p.66.
               13
                  Ibid.
               14
                  National Audit Office, supra note 10, p.17.
               15  Ibid.
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56