Page 54 - kpiebook65020
P. 54
15
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
ส่วนรวมอาจร่วมกันออกแบบกฎหรือรูปแบบการควบคุมที่หลากหลายไม่เพียงแต่เป็นข้อตกลงร่วมกัน แต่อาจ
รวมไปถึงการออกใบรับรอง ใบอนุญาต การออกแบบวิธีพิจารณาปัญหาโดยกลุ่มวิชาชีพ (Arbitration) หรือ
การสร้างแรงจูงใจรูปแบบอื่น ๆ โดยการควบคุมตนเองนั้นแตกต่างจากการบังคับร่วมที่จะกล่าวถึงในส่วนถัดไป
ตรงที่การควบคุมตนเองนั้นเกิดขึ้นจากกลุ่มผู้มีส่วนรวมในตลาดเองโดยไม่มีภาครัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง
ข้อดีของการควบคุมตนเอง คือ ผู้ออกกฎหรือรูปแบบการควบคุมเป็นผู้ที่มีส่วนรวม
ในตลาดโดยตรง ย่อมมีความรู้ความเชี่ยวชาญและเข้าใจถึงการด าเนินการและปัญหาในตลาดอย่างถ่องแท้
สามารถระบุปัญหาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงจุดและรวดเร็วตามสถานการณ์ในตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป 19
นอกจากนี้ การควบคุมตนเองยังมีความยืดหยุ่นสูงตามความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนรวมและการด าเนินการ
ควบคุมยังมีต้นทุนด้านการด าเนินต่ ากว่าการออกกฎจากภาครัฐ ที่ส าคัญที่สุดเนื่องจากผู้มีส่วนรวมเป็นผู้ออก
รูปแบบการบังคับเอง จึงมีแนวโน้มว่าผู้มีส่วนร่วมจะท าตามกฎหรือวิธีการแก้ปัญหาที่ตนเองออกมากกว่าการ
ท าตามกฎที่ออกโดยรัฐ อย่างไรก็ตาม การควบคุมตนเองก็มีข้อเสีย เนื่องจากผู้มีส่วนรวมอาจให้ความส าคัญกับ
ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป็นหลักไม่ได้ให้ความส าคัญกับผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสังคมเท่าที่ควร รวมไปถึงอาจ
มองไม่เห็นความสอดคล้องของวิธีแก้ปัญหากับกฎหมายหรือการควบคุมอื่น ๆ ที่ออกโดยภาครัฐ ดังนั้น การ
ควบคุมตัวเองอาจท าให้คนกลุ่มอื่นหรือสังคมโดยสูญเสียประโยชน์ได้
(6) การบังคับร่วม (Co-Regulation)
การบังคับร่วมนั้นมีรูปแบบและหลักการใกล้เคียงกับการควบคุมตนเอง แต่การ
บังคับร่วมนั้นจะมีรัฐเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการบังคับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เป็นการควบคุมตนเองที่มี
20
การใช้ข้อบังคับทางกฎหมายเข้ามาสนับสนุน เช่น กลุ่มผู้มีส่วนร่วมอาจรวมตัวกันโดยความสมัครใจเพื่อออก
กฎมาตรฐานวิชาชีพตามหลักการบังคับตัวเอง แต่รัฐเข้ามาช่วยเหลือในการบังคับใช้กฎและมีบทลงโทษส าหรับ
ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาม การมีส่วนรวมของรัฐท าให้การออกมาตรฐานวิชาชีพที่มีบทลงโทษทางกฎหมายส าหรับ
ผู้ฝ่าฝืนจึงถือเป็นการบังคับร่วมมากกว่าการบังคับตัวเอง หรือในบางกรณีการมีส่วนรวมของรัฐแม้จะเป็นการมี
ส่วนรวมโดยตรงแต่อาจจะไม่ได้ปรากฎออกมาในรูปแบบของการสนับสนุนทางกฎหมายแต่อาจจะเป็นการที่
ภาครัฐเข้าไปให้ค าแนะน าหรือสนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนั้นเส้นแบ่งระหว่างการ
บังคับร่วมและการควบคุมตัวเองอาจจะไม่ชัดเจนนัก ระดับการมีส่วนร่วมของรัฐอาจเข้าไปช่วยแก้ปัญหาที่เกิด
จากการควบคุมตัวเองดังที่ได้กล่าวไปแล้วได้ อย่างไรก็ตาม การมีส่วนร่วมของรัฐก็อาจเข้าไปครอบง าการมี
ส่วนรวมระหว่างภาคเอกชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เช่นเดียวกัน
(7) การเปิดเผยข้อมูล (Information Disclosure)
เนื่องจากข้อมูลนั้นมีคุณลักษณะเป็นสินค้าสาธารณะในตัวเอง กล่าวคือ เมื่อผู้บริโภค
บริโภคแล้วข้อมูลนั้นไม่หมดสิ้นไป และเมื่อมีการเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะแล้วทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
ไม่มีใครสามารถถูกกีดกั้นไม่ให้รับรู้ข้อมูลได้ ดังนั้นแล้วการเปิดเผยข้อมูลจึงมีต้นทุนที่ไม่คุ้มค่าในสายตาของ
ผู้ผลิต ผู้ผลิตจึงมักเลือกจะไม่เปิดเผยข้อมูล เมื่อผู้ผลิตไม่มีแรงจูงใจในการเปิดเผยข้อมูล ผู้บริโภคในตลาดจึงไม่
สามารถรวบรวมข้อมูลได้มากว่าเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจและน าไปสู่ภาวะตลาดล้มเหลว ดังนั้นแล้วการ
19
National Audit Office, supra note 10.
20 National Audit Office, supra note 10.