Page 59 - kpiebook65020
P. 59
20
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
อย่างเป็นธรรมระหว่างกลุ่มผู้ให้บริการโรงแรมและผู้ประกอบการ Airbnb ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในบาง
ตลาดโดยเฉพาะตลาดที่มีลักษณะผูกขาดโดยธรรมชาติหรือตลาดที่ต้นทุนสูงและจ าเป็นต้องมีผู้เล่นน้อย การให้
ความส าคัญกับผู้เล่นรายเดิมอาจไม่ก่อให้เกิดปัญหากฎระเบียบที่เป็นที่จับตา เนื่องจากตลาดดังกล่าวไม่
ต้องการผู้เล่นหน้าใหม่หรือเพิ่มการแข่งขันอยู่แล้ว
2.1.2 การผ่อนคลายกฎ (Deregulation)
จากปัญหาภาวะตลาดล้มเหลวและภาวะกฎล้มเหลวที่ได้กล่าวไปในข้างต้นท าให้ทั่วโลกมีความ
พยายามที่จะปรับเปลี่ยนแนวคิดและความเข้าใจเกี่ยวกับการออกกฎเพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในระบบสังคม
และเศรษฐกิจ ความพยามดังกล่าวน าไปสู่การปฏิรูปกฎที่เริ่มต้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 โดยรัฐบาลทั่วโลกได้
หันมาใช้แนวคิดการผ่อนคลายกฎเพื่อลดการใช้กฎเพื่อแทรกแซงแก้ไขปัญหาในตลาด แนวคิดการผ่อนคลาย
กฎเป็นแนวคิดการปฏิรูปหลักในทศวรรษ 1980 และในทศวรรษเดียวกันนี้ก็ได้มีการพัฒนาแนวคิดปฏิรูปที่ต่อ
ยอดมาจากการผ่อนคลายกฎนั่นคือแนวคิดในการวิเคราะห์และประเมินกฎหรือการจัดท า RIA นั่นเอง โดยใน
หัวข้อนี้จะกล่าวถึงการผ่อนคลายกฎ จากนั้นจะได้กล่าวถึงการแนวคิดการจัดท า RIA ต่อไปซึ่งแนวคิดทั้งสอง
ล้วนเป็นวิธีปฏิรูปกฎเพื่อแก้ปัญหาภาวะตลาดล้มเหลวและกฎล้มเหลวนั่นเอง
2.1.2.1 การปฏิรูปกฎ (Regulatory Reform)
การปฏิรูปกฎคือนโยบายพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของกฎโดยเชื่อว่าการปฏิรูปจะน าไปสู่การ
28
ยกระดับผลลัพธ์ของคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของประชาชน ตามแนวทางของ OECD การปฏิรูปกฎมีหัวใจ
หลักสองประการ ได้แก่ ประการแรกคือ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการออกกฎเพื่อให้มีความโปร่งใส่ตรวจสอบ
ได้โดยประชาชนมีส่วนรวมกับกระบวนการดังกล่าว อีกประการหนึ่งคือ การท าให้สารบัญญัติของกฎมี
29
ประสิทธิภาพ ไม่สร้างภาระที่มากเกินไปให้กับประชาชน โดยเป้าหมายของการปฏิรูปคือ การมีกฎที่ดี
ภาครัฐและเอกชนล้วนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบจัดการกฎร่วมกัน สร้างความเข้าใจและเคารพระหว่าง
สองภาคส่วน นอกจากนี้ ผลพลอยได้จากการปฏิรูปกฎคือ การกระจายอ านาจ (Decentralization) จาก
ภาครัฐไปสู่เอกชน การปฏิรูปกฎจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการออกกฎว่าจ าเป็นต้องออก
โดยรัฐและเป็นการออกค าสั่งบังคับให้เอกชนต้องเป็นผู้ท าตาม ไม่มีส่วนร่วมใด ๆ กับการออกกฎ
2.1.2.2 ความหมายและที่มาของแนวคิดการผ่อนคลายกฎ
การผ่อนคลายกฎคือ หนึ่งในนโยบายการปฏิรูปกฎ (regulatory reform) ที่กล่าวถึงการลด
30
การออกกฎทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อน าไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยการผ่อนคลายกฎสามารถท าได้
31
หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการลดบทบัญญัติที่มีอยู่ลง การท าให้บทบัญญัติต่าง ๆ ง่ายขึ้น (simplification) หรือ
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (privatization) ซึ่งเป็นการโอนอ านาจในการดูแลกิจกรรมทั้งหมดจากรัฐให้เอกชน
โดยวิธีการต่าง ๆ เหล่านี้จ าเป็นจะต้องมีจุดมุ่งหมายรวมกันในการลดอุปสรรคและเพิ่มการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
28 สถาพร ปัญญาดี, “การประเมินผลกระทบในการออกกฎหมาย: ศึกษาเฉพาะกรณีการจัดท าาร่างพระราชบัญญัติ,”
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556).
29
เพิ่งอ้าง.
30
“Glossary of Statistical Terms,” OECD, accessed 11 September 2020, from https://stats.oecd.org
/glossary/detail.asp?ID=4643.
31 สถาพร ปัญญาดี, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 28, น.80.