Page 58 - kpiebook65020
P. 58

19

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                                                                           26
               ของภาวะกฎล้มเหลวอย่างคร่าว ๆ ตามสาเหตุที่น าไปสู่ภาวะกฎล้มเหลว   รูปแบบแรกของภาวะกฎล้มเหลว
               เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์สถานการณ์ของปัญหาที่ผิดพลาด (analytical  failure)  รูปแบบที่สองคือ การ
               แทรกแซงที่ผิดพลาด (Intervention  failure)  อันหมายถึงการเลือกใช้รูปแบบการแทรกแซงที่ผิดและไม่
               สามารถแก้ปัญหาได้ รูปแบบที่สามคือ ความผิดพลาดที่การประสานความร่วมมือ (Co-ordination  failure)

               อันเกิดจากการออกกฎที่ไม่ครอบคลุมหรือเกิดปัญหาการทับซ้อนของกฎกับกฎอื่น ๆ รูปแบบที่สี่คือ ความ
               ผิดพลาดทางการเมือง (Political failure) ซึ่งเกิดจากสภาพการเมืองที่อาจกีดขวางการออกกฎบางอย่าง และ
               รูปแบบที่ห้าคือ ความผิดทางจากการออกแบบ (Design  failure)  อันเกิดจากแนวคิดที่ว่าตัวบทของกฎและ

               ทรัพยากรอื่น ๆ มีจ ากัดจนท าให้ผู้ออกกฎไม่มีทรัพยากรที่เพียงพอในการออกแบบการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง
               อย่างไรก็ตาม การแบ่งภาวะกฎล้มเหลวเป็นห้ารูปแบบนี้ถือเป็นเพียงการอธิบายสภาพภาวะที่เกิดขึ้นเท่านั้น
               ไม่ได้อธิบายถึงสาเหตุหรือปัจจัยที่น ามาซึ่งภาวะดังกล่าวเนื่องจากสาเหตุที่ท าให้เกิดภาวะกฎล้มเหลวนั้นมีได้
               มากมายหลายสาเหตุ ทั้งนี้สาเหตุที่อาจน าไปสู่ภาวะกฎล้มเหลวอาจมีดังต่อไปนี้

                              (1) การออกกฎเพื่อแก้ปัญหาอาจน าไปสู่ค่าเสียโอกาสจากการมีกฎ

                              การออกกฎถือเป็นการเข้าไปแทรกแซงกลไกตลาดและเสรีภาพของประชาชนในการเลือกที่
               จะด าเนินชีวิต ดังนั้นแม้ว่าการเข้าแทรกแซงของรัฐจะสามารถรับรองได้ว่าเป็นการแก้ไขภาวะตลาดล้มเหลว

               หรือเพื่อสาเหตุอื่น ๆ นอกเหนือจากเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ การออกกฎก็มีต้นทุนในตัวเอง การบังคับให้
                                                                                                    27
               ประชาชนต้องท าตามกฎท าให้ประชาชนต้องแบกรับค่าเสียโอกาสในการใช้เสรีภาพด าเนินชีวิตในทางอื่น
                              (2) ผู้ออกกฎไม่เข้าใจพฤติกรรมของผู้ที่อยู่ภายใต้การก ากับ

                              จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น แม้ว่าผู้คนที่เกี่ยวข้องจะได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนแต่ในหลายครั้งก็ผู้คน
               อาจไม่ได้ตัดสินใจอย่างสมหตุสมผล (bounded rationality) ดังนั้นในหลาย ๆ ครั้งผู้ที่อยู่ภายใต้ก ากับของกฎ

               อาจไม่ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปอย่างสมเหตุสมผลหรือตามการคาดคะเนของผู้ออกกฎ

                              (3) การออกกฎโดยค านึงถึงผลประโยชน์ของบุคคลเฉพาะกลุ่ม (Regulatory Capture)

                              ปัญหาการออกกฎโดยค านึงถึงผลประโยชน์ของบุคคลเฉพาะกลุ่ม หรือที่ในบางครั้งเรียกว่า
               “กฎระเบียบที่เป็นที่จับตา” ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหน่วยงานผู้ออกกฎค านึงถึงผลประโยชน์ของผู้ประกอบการรายเดิม
               มากว่าผู้ประกอบการรายอื่น กล่าวคือหน่วยงานของรัฐอาจมีความคุ้นเคยกับการออกกฎเพื่อคุ้มครองคนกลุ่ม
               ใดกลุ่มหนึ่งหรือผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งในตลาดจนท าให้มองข้ามผลกระทบและผลประโยชน์ที่อาจเกิด

               กับกลุ่มคนอื่น ๆ ได้ เช่น การออกกฎหมายควบคุมโรงแรมเคยส่งผลต่อผู้ประกอบกิจการโรงแรมโดยตรง
               อย่างไรก็ตามในปัจจุบันกฎหมายฉบับนี้อาจส่งผลต่อผู้ประกอบการ Airbnb บริการให้เช่าที่พักในแพลตฟอร์ม
               ใหม่ หน่วยงานที่ดูแลกฎหมายอาจมีความคุ้นชินและเข้าในผู้ประกอบการโรงแรมและปกป้องผลประโยชน์ของ

               ผู้ประกอบการโรงแรมมากกว่าผู้ประกอบการ Airbnb นอกจากนี้ ปัญหากฎระเบียบที่เป็นที่จับตาอาจเกิดขึ้น
               จากการรักษาผลประโยชน์ดั้งเดิมของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียได้เช่นกัน ผู้มีส่วนได้เสียเดิม เช่น กลุ่มผู้ให้บริการ
               โรงแรมอาจพยายามชักน าให้ผู้ออกกฎค านึงถึงผลประโยชน์ของกลุ่มของตนมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ หากกลุ่มผู้
               ให้บริการโรงแรมมีอิทธิพลมากพออาจท าให้ผู้ออกกฎคล้อยตามและออกกฎที่น าไปสู่การขัดขวางการแข่งขัน



               26
                  Ibid.
               27  ดู ต้นทุนในการก ากับดูแลและออกกฎ
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63