Page 57 - kpiebook65020
P. 57
18
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
ในปัจจุบัน ยังไม่มีระบบหรือเทคนิคใดเข้ามาช่วยให้ต้นทุนทั้งหมดในการออกกฎสามารถถูกค านวณออกมาได้
24
ทั้งหมดแต่อย่างไรก็ดีต้นทุนในการออกกฎก็ควรจะรวมถึงต้นทุนดังต่อไปนี้
(1) ต้นทุนในงบประมาณ (On-budget Costs) ต้นทุนในงบประมาณคือต้นทุนที่ใช้ในการ
ด าเนินการจัดการออกกฎรวมไปถึงต้นทุนที่องค์กรควบคุมดูแลกฎหมายใช้ในการจัดจ้างลูกจ้างในการ
ด าเนินการ ซึ่งต้นทุนในงบประมาณนั้นขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพและความพร้อมของหน่วยงานที่ต้องออกกฎใน
ขณะนั้น เช่น ต้นทุนในการพัฒนาก าลังคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการออกกฎ หรือ ต้นทุนใน
การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก รวมไปถึง ต้นทุนในการเก็บข้อมูลเพื่อเตรียมการออกกฎ ในกรณี
หน่วยงานไม่เคยส ารวจหรือเก็บข้อมูลที่จ าเป็นในการออกกฎไว้หรือจ าเป็นต้องจ้างบริษัทเอกชนเพื่อเก็บข้อมูล
(2) ต้นทุนในการท าตามกฎหมาย (Compliance Costs) ต้นทุนในการท าตามกฎหมายคือ
ต้นทุนของผู้อยู่ใต้บังคับของกฎ ไม่ว่าจะเป็นประชาชน ผู้มีส่วนร่วมบางกลุ่มหรือองค์กรของรรัฐเอง ในการท า
ตามกฎ เช่น ต้นทุนในการขอใบอนุญาตตามกฎหมาย ต้นทุนในการเตรียมเอกสารเพื่อจดทะเบียน หรือ
แม้กระทั่งการท าตามข้อบังคับของกฎหมายหลักหรือข้อบังคับทางปกครองต่าง ๆ ซึ่งแม้จะไม่ใช่ต้นทุนที่
สามารถเปลี่ยนมาเป็นจ านวนเงินได้ชันเจนก็ล้วนแต่เป็นต้นทุนในการท าตามกฎหมายเช่นกัน
(3) ต้นทุนทางอ้อม (Indirect Costs) ซึ่งถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสในการน าทรัพยากรที่ใช้ใน
การออกกฎไปท าประโยชน์อื่น ๆ ต้นทุนในการออกกฎเหล่านี้รวมไปถึงความโปร่งใสตรวจสอบได้ของ
ประชาชนต่อการใช้งบประมาณด้วย
นอกจากต้นทุนทั้งสามที่ได้กล่าวมาในข้างต้นแล้ว การออกกฎในแต่ละครั้งอาจยังมีต้นทุน
อื่น ๆ ทั้งที่สามารถค านวนเป็นตัวเงินได้ชัดเจนและต้นทุนที่ไม่สามารถค านวนเป็นตัวเงินได้ชัดเจน ในการออก
กฎแต่ละครั้งผู้ออกกฎจ าเป็นต้องค านึงถึงต้นทุนในการออกกฎเองด้วย ในบางครั้งเมื่อการออกกฎมีต้นทุนที่สูง
มาก การออกกฎเพื่อแก้ปัญหาอาจส่งผลร้ายและสร้างภาระให้ประชาชนต้องแบกรับมากกว่าเดิม
2.1.1.5 ภาวะกฎล้มเหลว (Regulatory Failure)
แม้ว่าการเข้าไปแทรกแซงของรัฐไม่ว่าจะด้วยการออกกฎหรือใช้เครื่องมือในการควบคุมจะ
ช่วยแก้สภาวะตลาดล้มเหลว ก็ไม่ได้หมายความว่าการเข้าแทรกแซงจะสามารถแก้ปัญหาได้ทุกครั้ง ยิ่งไปกว่า
นั้นการออกฎหรือการแทรกแซงของรัฐเองอาจก่อให้เกิดปัญหาใหม่ตามมา โดยการแทรกแซงหรือการออกกฎ
ที่ก่อให้เกิดผลร้ายเรียกว่า ภาวะกฎล้มเหลว (Regulatory Failure)
ค าว่า “ภาวะกฎล้มเหลว” จะกล่าวถึงภาวะที่การอออกกฎน าไปสู่ปัญหาหรือเกิดผลร้าย
25
ตามแต่ แต่ก็ไม่มีค านิยามที่ชัดเจนแน่นอนว่าสภาวะแบบใดบางที่จัดว่าเป็นภาวะกฎล้มเหลว นั่นเป็น
เพราะว่าภาวะกฎล้มเหลวนั้นสามารถเกิดได้จากหลายหลายรูปแบบและจากหลากหลายปัจจัย อาจเกิดได้ใน
ขั้นการระบุปัญหาที่ผิดพลาด การตัดสินใจเลือกรูปแบบการออกกฎที่ผิดพลาดไปจนถึงปัญหาของการจัดสรร
งบประมาณและการบังคับใช้ที่ไม่ก่อให้เกิดผลดีตามที่ผู้ออกกฎตั้งใจไว้ อย่างไรก็ตาม มีการพยายามจัดรูปแบบ
24
Yesim Yilmaz, “Private Regulation: A Real Alternative for Regulatory Reform,” Cato Policy Analysis No.
303 (1998) p.3.
25
Martin Lodge, “Managing Regulatory Failures,” London School of Economics, (2015) accessed 11
September 2020, from https://www.lse.ac.uk/accounting/assets/CARR/documents/Regulators-Forum/4.pdf.