Page 62 - kpiebook65020
P. 62

23

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                                                                       35
                              2.1.2.4 รูปแบบการก ากับดูแลเพื่อผ่อนคลายกฎ

                              รูปแบบของการก าดับดูเพื่อการผ่อนคลายกฎ อาจท าได้หลายวิธี ได้แก่

                              (1) การเรียกเก็บภาษี (Taxes)

                                  การแก้ปัญหาโดยการเรียกเก็บภาษี เป็นการแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่มีประสิทธิในตลาด
                                  โดยตรงด้วยการเพิ่มต้นทุน (ภาษีที่ต้องจ่ายเพิ่ม)  ให้กับผู้ผลิตโดยตรง นอกจากนี้แล้ว
                                  รายได้เพิ่มเติมจากการเก็บภาษีสามารถถูกน าไปจัดสรรเพื่อสาธารณะประโยชน์ได้

                                  โดยตรง
                              (2) การออกเงินอุดหนุน (Subsidy)


                                  การออกเงินอุดหนุนคือการแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่มีประสิทธิในตลาดโดยตรงเช่นเดียวกัน
                                  เนื่องจากภาครัฐอัดฉีดเงินให้ผู้บริโภคน าเงินดังกล่าวไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย
                                  ตนเอง โดยการออกเงินอุดหนุนนั้นไม่ได้เป็นการจ ากัดวิธีการแก้ปัญหาหรือเพิ่ม
                                  ประสิทธิภาพของผู้ผลิต และเปิดโอกาสในผู้ผลิตใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา
                                  ได้โดยไม่มีกรอบของกฎหมายเข้ามาจ ากัด


                              (3) การรณรงค์ด้านข้อมูล (Information Campaign)

                                  การรณรงค์ด้านข้อมูลเป็นการน าเสนอข้อมูลที่ครบถ้วนให้กับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคใน
                                  ตลาด เมื่อมีข้อมูลเพิ่มขึ้น การตัดสินใจของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคควรเปลี่ยนไปในทางที่
                                  มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามกลไกของตลาด

                              (4) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization)

                                  การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นการแก้ไขปัญหา x-inefficiency  ดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว
                                  กล่าวคือ เป็นการแก้ปัญหาความไร้ประสิทธิภาพของกฎที่มาจากองค์กรผู้ออกกฎเอง ซึ่ง

                                  ส่วนใหญ่ผู้ออกกฎที่เป็นภาครัฐมักผูกติดกับระบบราชการที่เต็มไปด้วยกฎและข้อบังคับ
                                  ที่ท าให้กระบวนการออกกฎมีต้นทุนทางกฎหมายสูง การลดต้นทุนการท าตามกฎหมาย
                                  ด้วยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจจึงเป็นการแก้ปัญหากฎล้มเหลวได้เช่นกัน

                       รูปแบบการผ่อนคลายกฎทั้งสี่นั้นเป็นการพยายามแก้ไขปัญหาภาวะตลาดล้มเหลวผ่านการไม่ออกกฎ
               จึงท าให้เป็นการแก้ปัญหาที่หลบเลี่ยงต้นทุนในการออกกฎไปได้พร้อม ๆ กัน โดยการแก้ปัญหาทั้งสี่วิธีล้วน

               ตั้งอยู่บนสมมุติฐานเดียวกันว่า การปล่อยให้เอกชนหรือบุคคลแก้ปัญหาด้วยตัวเองโดยภาครัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง
               น้อยที่สุดจะเป็นการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากบุคคลที่ประสบกับปัญหามักเข้าถึงข้อมูลที่
               เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นได้มากกว่าภาครัฐ และบุคคลสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการใช้หลัก
               เหตุผล




               35
                  “Revised RIA Guidelines: How to conduct a Regulatory Impact Analysis,” Department of Taoiseach,
               accessed 11 September 2020, from https://govacc.per.gov.ie/wpcontent/uploads/Revised_RIA_Guidelines
               _June_ 2009. pdf
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67