Page 60 - kpiebook65020
P. 60
21
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
32
จากการศึกษาของ OECD การผ่อนคลายกฎเป็นนโยบายที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่ม
ประเทศ OECD ในทศวรรษ 1980 โดยเฉพาะในตลาดอุตสาหกรรมและแรงงาน การผ่อนคลายกฎในทศวรรษ
1980 เป็นการตอบสนองต่อนโยบายการแทรกแซงตลาดอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลตลอดทศวรรษ 1970 ทั้งการ
ควบคุมราคาและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายตลาดเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ การแทรกแซงตลาดของ
รัฐถูกมองว่าเป็นสาเหตุหลักของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เชื่องช้า กฎและกฎหมายถูกมองว่าเป็น
เครื่องมือหลักที่จ ากัดการท างานของกลไกตลาดและสร้างเงื่อนไขทางเศรษฐกิจเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโต
ทางเศรษฐกิจ การผ่อนคลายกฎจึงมีเป้าหมายที่จะเพิ่มความยืดหยุ่นในตลาดที่โดนแทรกแซงมานาน รวมไปถึง
จัดสรรทรัพยากรกลับไปสู่ตลาดและภาคเอกชน ประเทศสหรัฐอเมริกาภายใต้การน าของประธานาธิบดีโรนัลด์
เรแกน เป็นประเทศแรกที่เปลี่ยนแนวคิดจาการแทรกแซงและเข้าควบคุมตลาดด้วยกฎที่เคร่งครัดมาสู่แนวคิด
การผ่อนคลายกฎและปล่อยกลไกตลาดท างานโดยรัฐไม่ยื่นมือเข้าไปแทรกแซง ก่อนประเทศทางยุโรป
โดยเฉพาะอังกฤษในสมัยของนายกรัฐมนตรี มากาเรต์ เทรชเชอร์ จะเปลี่ยนแนวคิดไปในทิศทางเดียวกัน
ดังนั้นแล้ว แนวคิดการผ่อนคลายกฎ จึงเป็นแนวคิดใหม่ที่ได้รับความสนใจอย่างมากตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็น
ต้นมา
แนวคิดการผ่อนคลายกฎที่เกิดขึ้นในยุโรปและอเมริกาในทศวรรษ 1970 นั้นเป็นการ
เปลี่ยนแปลงแนวคิดและความเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของรัฐต่อระบบสังคมและเศรษฐกิจ การเกิดขึ้นและการ
พัฒนาที่ก้าวกระโดดของแนวคิดนี้เกิดขึ้นจากหลายปัจจัย นอกจากปัจจัยทางการเติบโตที่เชื่องช้าของเศรษฐกิจ
ที่ได้กล่าวไปในข้างต้นแล้ว ยังเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของรัฐที่ลดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับกลุ่มธุรกิจผู้มี
ส่วนได้เสียบางกลุ่มลง ท าให้รัฐสามารถบทบาทในการเข้าไปแทรกแซงและควบคุมตลาดลงได้ นอกจากนี้แล้ว
เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในศตวรรษ 1980 ยังส่งผลให้รัฐไม่สามารถออกกฎเข้าไปก ากับควบคุม
ตลาดได้อย่างสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง ท าให้ประสิทธิภาพในตลาดลดลง ส่งผลให้ทั้งรัฐและเอกชนต่าง
เห็นพ้องกันในการลดการแทรกแซงและควบคุมโดยรัฐในตลาดเพื่อปล่อยให้เอกชนได้เข้ามาด าเนินการในตลาด
ด้วยตนเอง ยิ่งไปกว่านั้น ในสหภาพยุโรป การเปิดตลาดการค้าร่วมกันในสหภาพ (common market) ยัง
ส่งเสริมให้ทุกประเทศรวมกันลดกฎและลดการแทรกแซงในตลาดร่วมลงเพื่อส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม
ระหว่างประเทศในกลุ่มสมาชิก
2.1.2.3 ปัญหาที่น าไปสู่การผ่อนคลายกฎ
แม้ว่าแนวคิดการผ่อนคลายกฎนั้นจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของรัฐบาลใน
ศตวรรษ 1980 แต่ในทางทฤษฎีการผ่อนคลายกฎนั้นจ าเป็นต้องเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาความไร้ประสิทธิภาพที่
33
อยู่ในการด าเนินการออกและบังคับกฎอยู่แล้ว โดยปัญหาที่อาจน าไปสู่การผ่อนคลายกฎมีดังต่อไปนี้
ปัญหาประการแรก คือ ปัญหาด้านข้อมูล ในโลกที่เศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น
การเข้าถึงข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นนอกจากจะเป็นไปได้ยากแล้วยังอาจมีต้นทุนที่ผู้ต้องการทราบ
ข้อมูลต้องแบกรับสูง อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องความไม่ครบถ้วนของข้อมูลหรือได้รับข้อมูลที่มีอคติ ดังนั้นจึงเป็นไป
ได้ยากที่การออกกฎเพื่อควบคุมแทรกแซงจะตั้งอยู่บนฐานที่ว่าผู้ออกกฎมีข้อมูลครบถ้วนก่อนออกแบบและ
32
Alberto Pera, “Deregulation and Privatisation in an Economy-Wide Context,” OECD, accessed 11
September 2020, from http://www.oecd.org/economy/reform/35381774.pdf.
33 Ibid.