Page 92 - kpiebook65020
P. 92

53

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                                                                       85
               เกิดขึ้นจากการออกกฎหมาย โดยมีเป้าประสงค์หลักสองประการ  คือ (1) เพื่อพัฒนากระบวนการในการ
               ก าหนดกฎกติกาในการก ากับดูแลของภาครัฐ และ (2) เพื่อปรับปรุงคุณภาพของกฎระเบียบของภาครัฐให้มี
               คุณภาพ โดยก าหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องชี้แจงเหตุผลและความจ าเป็นในการออกกฎหมาย รวมถึง
               ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ที่เป็นเหตุเป็นผล เช่น การวิเคราะห์ต้นทุนและ

               ผลประโยชน์ (Cost Benefit Analysis) และต้องเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น
               และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐที่ประสงค์จะตรากฎหมายขึ้นมาบังคับใช้ เพื่อเสนอรายงานต่อผู้มี
               อ านาจตัดสินใจให้ทราบถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพของแต่ละทางเลือก เพื่อให้มีการเลือกวิธีการหรือ

               ทางเลือกที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพได้มากที่สุด
                              การด าเนินการตรวจสอบความจ าเป็นและการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมาย ต้อง

               ด าเนินการ “ก่อน” ที่จะร่างกฎหมายขึ้นใช้บังคับเพื่อประเมินผลกระทบและตรวจสอบความจ าเป็นในการตรา
               กฎหมายนั้น และเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายนั้น แต่
               หากไปด าเนินการตรวจสอบความจ าเป็นและการวิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมาย “หลัง” จากที่กฎหมาย

               บังคับใช้แล้วก็จะไม่เกิดประโยชน์มากนัก เนื่องจากผู้มีส่วนได้เสียไม่มีส่วนร่วมในการพิจารณาเนื้อหาสาระของ
                                                                       86
               กฎหมายมาตั้งแต่แรก ดังนั้นจึงไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้เท่าที่ควร
                              แนวคิดในการตรวจสอบความจ าเป็นและการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมาย เกิด
               ขึ้นมาจากการที่ในอดีตที่ผ่านมากระบวนการออกกฎหมายยังขาดการกลั่นกรองที่ดี เนื่องจากกฎหมายเป็น
               เครื่องมือของรัฐบาลในการก าหนดนโยบายต่าง ๆ ท าให้มีการตรากฎหมายออกมาจ านวนมาก ส่งผลให้

               กฎหมายที่ออกมานั้นไม่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การออกกฎหมายยังส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งในด้าน
                                                                           87
               เศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการปกครอง ต่อทั้งรัฐ เอกชน ประชาชน ดังนั้น จึงมีความจ าเป็นที่จะต้องให้
               ความส าคัญกับการปรับปรุงกระบวนการในการออกกฎหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งกฎหมายที่มีคุณภาพ

                              การตรวจสอบความจ าเป็นและการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมาย จึงเป็นเครื่องมือ
               ส าคัญในการพัฒนาคุณภาพของกฎหมาย เพราะได้ก าหนดให้หน่วยงานของรัฐระบุและประเมินผลกระทบที่

               คาดว่าจะเกิดขึ้นจากกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เสนอ และด าเนินการวิเคราะห์บนพื้นฐานของข้อมูลและ
               ข้อเท็จจริง ดังนั้น กฎหมายที่ผ่านกระบวนการตรวจสอบความจ าเป็นและการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรา
               กฎหมายแล้วจะเป็นที่ยอมรับจากประชาชน เพราะกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านการวิเคราะห์อย่างรอบด้าน และ
               ได้มีการซักถาม ชี้แจง ถกเถียง ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว


                              นอกจากนี้ การตรวจสอบความจ าเป็นและการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมายยัง
                                                                                      88
               สามารถใช้เปรียบเทียบเพื่อค้นหาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ไขปัญหา กล่าวคือ  เมื่อหน่วยงานของรัฐ
               ค้นพบปัญหาและตั้งเป้าหมายว่าจะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ กระบวนการตรวจสอบความจ าเป็นและการวิเคราะห์



               85  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 43, น.2-1.
               86  เพลินตา ตันรังสรรค์, “สรุปการสัมมนา การวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย (Regulatory Impact Analysis :
               RIA),” จุลนิติ, กรกฎาคม – สิงหาคม 2557, น.37.
               87
                  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 43, น. 2-4.
               88
                   ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา,  ค าอธิบายของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผล
               สัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562, (2562), น.15.
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97