Page 93 - kpiebook65020
P. 93

54

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


               ผลกระทบในการตรากฎหมายจะเป็นตัวช่วยในการค้นหาทางเลือกทั้งหมดที่สามารถท าให้บรรลุเป้าหมายนั้น
               ได้ เพื่อให้สามารถเลือกทางเลือกที่มีความคุ้มค่าและผลกระทบที่สมเหตุสมผลมากที่สุด เช่น การแทรกแซงเชิง
               นโยบาย การใช้มาตรการทางบริหารหรือการออกกฎหมาย จากนั้นจึงท าการวิเคราะห์ทางเลือกที่เป็นไปได้
               เหล่านั้น และรายงานผลต่อผู้มีอ านาจตัดสินใจให้ทราบถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลกระทบของแต่ละ

               ทางเลือก และเพื่อน าไปสู่การตัดสินใจเลือกวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ไขปัญหานั้น (ค าอธิบาย พรบ)

                              อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบความจ าเป็นและการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมายนั้น
               จะต้องมีการออกแบบกระบวนการในการจัดท าให้ถูกต้อง กล่าวคือ การวิเคราะห์ การตั้งค าถาม และการท า
               ความเข้าใจผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง เพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่ประสงค์จะออกกฎหมายน าไปพัฒนาร่าง
               กฎหมายนั้น ๆ ได้จริง มิฉะนั้นแล้วการตรวจสอบความจ าเป็นและการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมาย

               ก็จะเป็นเพียงขั้นตอนตามกฎหมายที่จะต้องท าตามที่ก าหนดไว้เท่านั้น

                              2.3.1.2 แนวทางการตรวจสอบความจ าเป็นและการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรา
               กฎหมายของประเทศ OECD

                              องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-
               operation  and  Development  :OECD)  จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1961 เป็นองค์กรที่มีบทบาทส าคัญในการ

               เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศสมาชิก โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
               ส่งเสริมการค้าเสรี และให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาทั้งในประเทศอุตสาหกรรมและประเทศก าลังพัฒนา
               อย่างไรก็ดีในปัจจุบันภารกิจของ OECD  เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เน้นการตรวจสอบนโยบายในด้านต่าง ๆ
               ของประเทศสมาชิกไปสู่การวิเคราะห์แนวทางที่นโยบายต่าง ๆ จะสามารถมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่าง

               ประเทศสมาชิกและกับประเทศภายนอกกลุ่ม โดยเฉพาะในประเด็นปัญหาข้ามชาติต่าง ๆ อันเกิดจากกระแส
               โลกาภิวัตน์ ในปัจจุบัน OECD  ถือ เป็นองค์กรวิจัยที่มีคุณภาพที่สุดองค์กรหนึ่งของโลก เป็นแหล่งรวมข้อมูล
               วิจัยต่าง ๆ ให้ประเทศสมาชิกสามารถ ปรึกษา ค้นคว้า รวมทั้งขอข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวปฏิบัติอันเป็นเลิศ
                           89
               ในด้านต่าง ๆ
                              OECD มีนโยบายส าคัญประการหนึ่ง คือ การผลักดันให้เกิดเครื่องมือที่ใช้สร้างและปรับปรุง

               เพื่อน าไปสู่การมีกฎระเบียบที่ดี เพราะประเทศสมาชิก OECD  ตระหนักว่าคุณภาพของการออกกฎหมายมี
               ความส าคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา กลไก
               ตามข้อแนะน าของ OECD  ที่ค่อนข้างประสบความส าเร็จและได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ คือ

               กระบวนการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย (Regulatory Impact Analysis  หรือ RIA)    90  โดย
               OECD  ได้ประกาศหลักเกณฑ์การตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายที่เรียกว่า “OECD  Reference
               Checklist  for  Regulatory  Decision  Making”  ขึ้นในปี พ.ศ. 2538 โดยเป็นรายการค าถามที่ก าหนดให้
               หน่วยงานของรัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้องต้องตอบให้ครบถ้วนก่อนที่จะมีการร่างกฎหมายเพื่อประเมินหรือตรวจสอบ







               89
                  องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Develop
               ment (OECD), สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563,.จาก www.mfa.go.th
               90  ปัทมา วะรินทร์, การทบทวนกฎระเบียบตามข้อแนะน าของ OECD, น.1.
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98